top of page

พะยูน สัตว์น้ำน่ารักและเหตุผลที่คุณควรอนุรักษ์มัน

  • Writer: Admin
    Admin
  • May 30, 2020
  • 1 min read


หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของพะยูน (Dugong) และชื่อเล่นของมัน ไม่ว่าจะเป็น วัวทะเล หมูทะเลหรือหมูน้ำ และอีกหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อของ มาเรียม พะยูนน้อยขวัญใจคนไทยที่ตายไปเพราะขยะพลาสติก ด้วยความน่ารักของมาเรียมประกอบกับเรื่องราวอันน่าเศร้า ทำให้สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขยะพลาสติก เรื่องอุปกรณ์ประมง หรือเรื่องการท่องเที่ยวที่รบกวนสัตว์ทะเล แต่นอกจากความน่ารักของพะยูนแล้ว แท้จริงพะยูนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์มาก และแน่นอนว่ามนุษย์ควรที่จะอนุรักษ์พวกมัน


พะยูน คืออะไร?


ในภาษาไทยนั้น เราใช้คำว่า"พะยูน"ในการเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในอันดับ(Order) Sirenia ซึ่งอันดับนี้ยังแบ่งออกเป็นสองครอบครัวหรือวงศ์ (Family) คือ พะยูนที่มีหางแฉก และพะยูนที่มีหางกลม ในอดีตพะยูนหางแฉกมีสองสกุล แต่ในปัจจุบันนั้นได้สูญพันธุ์ไปและเหลือเพียงสกุล (Genus) เดียวคือ พะยูน (Dugong Dugon) ซึ่งเป็นพะยูนที่พบในประเทศไทย ส่วนพะยูนที่มีหางกลมนั้น มีชื่อในภาษาอังกฤษคือ Manatee บางครั้งในภาษาไทยก็สามารถเรียกว่า มานาตีได้เช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ในบทความนี้จะใช้คำว่า พะยูน เพื่อสื่อถึง Dugong Dugon เท่านั้น


พะยูนนั้นอาศัยอยู่ในซีกโลกตะวันออก ตั้งแต่บริเวณตะวันออกของทวีปแอฟริกา รวมถึงทะเลแดง มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงบริเวณทวีปออสเตรเลีย ในประเทศไทย จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีพะยูนอาศัยอยู่มากที่สุด พะยูนเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก และนี่ก็คือสาเหตุหนึ่งที่มันถูกเรียกว่าเครื่องตัดหญ้าทะเลนั่นเอง


พะยูนสำคัญอย่างไร


คนไทยมีความผูกพันกับพะยูนมานาน ทำให้มีการนำชื่อพะยูนมาตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่าง ๆ มากมาย รวมถึงยังมีการปรากฎของพะยูนในวัฒนธรรมไทยทางชายฝั่งและในจังหวัดตรัง ไม่ว่าจะเป็นเพลงพื้นบ้าน ตำนาน และความเชื่อ แต่นอกเหลือจากเรื่องของวัฒนธรรมแล้ว พะยูนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์อย่างมาก


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า พะยูนมีอาหารหลักคือหญ้าทะเล และถูกขนานนามว่าเป็นเครื่องตัดหญ้า แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะตัดหญ้าทิ้งเพียงอย่างเดียว แท้จริงแล้ว พะยูนกินหญ้าทะเลทั้งใบและลำต้น แปลว่าในขณะที่มันกำลังกินมันก็ได้ทำการพรวนดิน ถอนต้นหญ้าเก่า ๆ ออกไป และเปิดพื้นที่ให้ต้นหญ้าใหม่ ๆ ได้งอกขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้น การที่มีพื้นที่ว่างมากขึ้นหมายถึงโอกาสที่หญ้าหลาย ๆ ชนิดจะเติบโตในพื้นที่เกียวกันได้อีกด้วย และหญ้าหลากหลายชนิดนั้นก้ไม่ได้มาจากที่ไหนไกล แต่ก็มาจากอึของพะยูนนี่เอง ที่ได้นำทั้งเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยมาก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์


เมื่อหญ้าทะเลเติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ นอกจากมันจะช่วยยึดเกาะหน้าดินไม่ให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลแล้ว มันยังเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์นานาชนิด ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของระบบนิเวศน์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้พะยูนจึงมีความสำคัญในฐานะที่มันช่วยดูแลหญ้าทะเลนั่นเอง


ทำไมพะยูนถึงใกล้สูญพันธุ์


สาเหตุที่ทำให้จำนวนของพะยูนลดลงนั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของพฤติกรรมของมนุษย์ เมื่อกว่ายี่สิบปีก่อนหน้านี้ พะยูนถูกล่าเพื่อนำเนื้อมาทำเป็นอาหารนานาชนิด นอกจากนี้หนังยังถูกนำมาทำเป็นเครื่องหนัง และยังมีการนำเขี้ยวมาทำเป็นเครื่องราง และนำกระดูกมาทำยาตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ. และอนุสัญญาไซเตส (CITES) ซึ่งคุ้มครองไม่ให้มันถูกล่าเพื่อนำมาค้าขาย


อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่าจำนวนพะยูนในทะเลตรังนั้นยังคงน้อยอยู่ โดยจำนวนพะยูนในทะเลตรังและกระบี่นั้นมีอยู่ประมาณ 200 ตัว แต่เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติก และอุปกรณ์ประมงที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้พะยูนต้องตายมากถึง 12 ตัวหรือมากกว่าต่อปี และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตหากยังไม่มีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง


พะยูนอยู่ใต้น้ำแต่จะขึ้นมาหายใจทุก ๆ 6 นาที พะยูนหนึ่งตัวมีอายุขัยยาวถึง 70 ปี เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปีก็จะสามารถสืบพันธุ์ได้ ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องนานถึง 14 เดือน และออกลูกเพียงแค่ครั้งละหนึ่งตัว โดยเว้นระยะช่วงการตั้งครรภ์มากกว่า 2 ปีเมื่อลูกพะยูนเกิดแล้วก็จะอยู่กับแม่ประมาณ 12-18 เดือน จากพฤติกรรมตามธรรมชาติดังกล่าวจึงทำให้พะยูนเสี่ยงต่อการคุกคามอย่างมาก เนื่องจาก

  • การที่พะยูนต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำบ่อย ๆ ทำให้อาจถูกขยะพลาสติก หรืออวนประมงเก่าพันตัวจนได้รับบาดเจ็บได้

  • พะยูนที่ไม่มีแม่ดูแลจะอ่อนแอมาก นอกจากต้องอาศัยนมแม่แล้ว ยังอาศัยแม่เป็นผู้สอนวิธีหาอาหารและเป็นเกาะกันบังจากศัตรู บางครั้งก็อาศัยบนหลังเพื่อให้แม่พาว่ายน้ำไปยังที่ต่าง ๆ ด้วย การอนุบาลพะยูนด้วยมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากมาก และลูกพะยูนมักตายได้ง่าย

  • จากพฤติการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ พะยูนอาจตายก่อนที่มันจะโตพอที่จะสืบพันธุ์ และอาจตายในขณะตั้งครรภ์

  • อาหารหลักของพะยูนคือหญ้าทะเล แต่เมื่อมนุษย์ฝังอยู่ใต้ดินใกล้แหล่งหญ้าทะเล ทำให้พะยูนหลายตัวกินขยะพลาสติก และเกิดการติดเชื้อในเลือดซึ่งนำไปสู่การตายอย่างทรมานในที่สุด

  • การท่องเที่ยวทะเลรบกวนที่อยู่อาศัยของทั้งพะยูนและสัตว์ทะเลมากมาย โดยเฉพาะเสียงของเรือ และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวบางกกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ

เป็นเรื่องยากที่เราจะช่วยกันรักษาหรืออนุบาลลูกพะยูนให้เติบโตได้ เพราะเป็นเพียงวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น หากเราอยากจะช่วยพะยูนและระบบนิเวศน์ในทะเลไทย ก็คงต้องยอมรับว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการตัดการกับขยะ และการท่องเที่ยวทะเลอย่างเข้มงวด และยั่งยืน


 

แหล่งอ้างอิง




Comentarios


About Us

We are Journalism Art Club, or JAC.  

This club is operated and managed independently from any organisation. 

 

Please contact us for more information.

2728mary@gmail.com

bottom of page